วันเสาร์, 23 พฤศจิกายน 2567

ผุดไอเดียเก๋ “ขยะแลกไข่” โครงการตำบลน่าอยู่ หมู่บ้านลดขยะ ต.แคน

ตำบลแคน ผุดไอเดียเก๋ “ขยะแลกไข่” โครงการตำบลน่าอยู่ หมู่บ้านลดขยะ ต.แคน อ.สนม จ.สุรินทร์ อีกหนึ่งกิจกรรมดีๆของชมชุม

เมื่อวันที่ 21 ก.พ. 61  ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดสุรินทร์รายงานว่า ที่ตำบลแคนน้อย อ.สนม ผุดไอเดียเก๋ “ขยะแลกไข่” โครงการตำบลน่าอยู่ หมู่บ้านลดขยะ เป็นการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน ต.แคน อ.สนม จ.สุรินทร์ ส่งเสริมการลดขยะในครัวเรือน เพิ่มมูลค่าและการจัดการร่วมกันของหมู่บ้าน นำผลผลิตไข่จากชาวบ้านที่เลี้ยงไก่ไข่นำมาแลกได้ประโยชน์อีกทาง ซึ่งได้ผลการตอบรับจากชุมชนหมู่บ้านเป็นอย่างดี ชาวบ้านต่างพากันนำขวดเปล่า ขวดแก้ว พลาสติกต่างๆ พัดลมเสีย หรือแม้แต่ขยะอันตราย เช่น หลอดไฟฟ้าที่เสีย ถ่านไฟฉายหรือแบตเตอรี่ก็สามารถนำมาแลกไข่ได้เช่นกัน เมื่อชาวบ้านนำขยะมาแล้วก็จะชั่งกิโลก่อนว่าได้เท่าไหร่ ซึ่งก็มีหลักเกณฑ์ขยะที่จะแลกไข่นั้น จะแยกออกเป็นประเภท เช่น ประเภทขวดพลาสติก ขวดพลาสติกใส 1 กิโลไข่ 3 ฟอง ขวดพลาสติกขุ่น 1 กิโลไข่ 6 ฟอง ขวดพลาสติกรวม 1 กิโลไข่ 4 ฟอง // ประเภทกระดาษ กระดาษขาวดำ 1 กิโลไข่ 2 ฟอง กระดาษหนังสือพิมพ์ 3 กิโลไข่ 2 ฟอง กระดาษลังกระดาษกล่อง 1 กิโลไข่ 2 ฟอง กระดาษรวม 1 กิโลไข่ 1 ฟอง //ประเภทแก้ว แก้วใส 3 กิโลไข่ 1 ฟอง ขวดแก้วสีชา 1 กิโลไข่ 1 ฟอง //ประเภทโลหะ เหล็ก 1 กิโลไข่ 2 ฟอง สังกะสีกระป๋องนมกระป๋องกาแฟ 1 กิโลไข่ 1 ฟอง อลูมิเนียมโค้ก 1 กิโลไข่ 10 ฟอง อลูมิเนียม 1 กิโลไข่ 12 ฟอง //ประเภทขยะอันตราย หลอดไฟทุกชนิด 1 หลอดไข่ 1 ฟอง ขวดน้ำยาล้างห้องน้ำ 3 ขวดไข่ 2 ฟอง แบตเตอรี่ต่างๆ 1 ลูกไข่ 1 ฟอง ถ่านไฟฉาย 6 ก้อนไข่ 1 ฟอง ขวดสีสเปรย์ 2 ขวดไข่ 1 ฟองขวดน้ำยาฆ่าหญ้า 2 ขวดไข่ 1 ฟอง แกลลอน 1 แกลลอน ไข่ 1 ฟอง

หลังจากทำการชั่งกิโลแล้วก็จะมีเจ้าหน้าที่จดบันทึกว่าใครนำอะไรมาแลก ได้กี่กิโล ได้ไข่กี่ฟอง ลงในสมุด โดยมีสภาเด็กและเยาวชน ตำบลแคน ช่วยกันลงบันทึก และช่วยกันรับผู้ที่นำขยะมาแลกไข่ในครั้งนี้

ในกิจกรรมครั้งนี้ นายคณัสชนม์ ศรีเจริญ นายอำเภอสนม พร้อมด้วยส่วนราชการ ส่วนท้องถิ่น ชาวตำบลแคน ก็มาร่วมและช่วยกันรับขยะจากพี่น้องประชาชนที่นำขยะมาแลกไข่ในครั้งนี้อย่างเป็นกันเอง สร้างรอยยิ้มรับไข่กลับบ้านทำอาหารใช้กับครอบครัว

 

ชาวบ้านที่นำขยะมาแลกไข่ กล่าวว่า เป็นโครงการที่ดี นำมาแลกไข่ไปกับข้าวประกอบอาหารได้ ส่วนใหญ่ที่เอานำมาแลกจะเป็นประเภทขวด ที่มันอันตรายและทำรายส่งแวดล้อม นำเก็บๆรวมๆสะสมไว้แล้วนำมาแลกเป็นอาหารการกินชาวบ้านอีกคน กล่าวว่า ก็ดีอยู่ครับได้เป็นส่วนร่วม ได้นำสิ่งที่เป็นขยะมูลฝอยกำจัดขยะเพื่อลดสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น

ด้านนายธกร นาคกระแสร์ นักพัฒนาชุมชน เทศบาลตำบลแคน กล่าวว่า สำหรับตำบลน่าอยู่หมู่บ้านลดขยะตำบลแคน ซึ่งทางเทศบาลตำบลแคนร่วมกับหมู่บ้านในพื้นที่ของตำบลแคนทั้งหมด 14 หมู่บ้านได้ร่วมกัน จัดกิจกรรมในการคัดแยกขยะรณรงค์ลดขยะและนำขยะรีไซเคิล 3r และขยะอันตราย นำมาแลกกับไข่ซึ่งเป็นผลผลิตที่ทางชุมชนของเราได้เลี้ยงไก่ไข่ แล้วเอาไข่ที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ของชุมชนนำมาทำการแลก ซึ่งขยะที่เรานำมาในวันนี้ก็จะมีเรื่องของขยะพลาสติก มีในเรื่องของกระป๋อง มีเรื่องของขยะอันตราย อย่างเช่นหลอดไฟ ถ่านไฟฉาย และแบตเตอรี่ เพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนในพื้นที่ตำบลแคนตำหนึกถึงความสำคัญเกี่ยวกับการลดขยะสร้างมูลค่า จากการใช้ขยะในภาชนะบรรจุภัณฑ์ต่างๆซึ่งวันนี้พี่น้องชาวตำบลแคนได้นำขยะมาร่วมกิจกรรมของเราเป็นจำนวนมาก ซึ่งได้รับเสียงต้อนรับอย่างดี เพื่อให้พี่น้องตำบลแคนได้ตระหนัก ถึงการรณรงค์การคัดแยกขยะที่มีขึ้นในชุมชนเป็นการลดโลกร้อนแล้วก็ช่วยกันรณรงค์ ของการลดการคัดแยกขยะ

 

ภาพ/ข่าว/เรียบเรียง สมศักดิ์ ตระกูลสุข ทีมข่าวสนมนิวส์ สุรินทร์

About The Author