วันศุกร์, 3 มกราคม 2568

จัดเต็ม จัดครบทุกเรื่องราว อัพเดทการพัฒนา อำปึลโมเดล จ.สุรินทร์ (มีคลิป)

สืบเนื่องการประชุม รับฟังความคิดเห็นภาคประชาชน ที่จัดโดยหน่วยงานราชการ ณ โครงการชลประทานห้วยเสนง วันที่ 30 สิงหาคม 2562

“ที่ส่งผลต่อแนวคิดและการออกแบบทางออกร่วมกัน ให้นักวิชาการจำเป็นต้องแสดงบทบาทในการเชื่อมต่อ ของข้อมูล ความคิด ความต้องการ ด้วยการระดมทุกความคิด ทุกภาคส่วนในพื้นที่อย่างแท้จริง..มากกว่าการฟังความเพียงข้างเดียว..แล้วต้องมารับสภาพกับการพัฒนา ที่ไม่เป็นระบบ ระเบียบ ที่สัมพันธ์กับวิถีแต่ละชุมชนอย่างแท้จริง”

การประชุมรับฟังการระดมความคิดเห็น ความต้องการ ภาคประชาชน ที่ขับเคลื่อนด้วยกลไกภาคประชาชน ในพื้นที่ชุมชนบ้านเสกแอ ตำบลตาอ็อง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน 2562

การดำเนินการโดยผู้บริหารท้องถิ่น ที่เป็นตัวแทนที่ใกล้ชิดในชุมชน การรับรู้และเข้าถึงแหล่งข้อมูล ความคิด ความต้องการ ที่สะท้อนผ่านช่วงเวลา จากรุ่นสู่รุ่น เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่น่าสนใจในเวทีภาคประชาชน ที่สร้างความน่าสนใจให้กลุ่มตัวแทนต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน หรือแม้กระทั่งนักวิชาการ ได้เสนอตัว รวมทั้งอาสาเข้าสู่กระบวนการมีส่วนร่วม ให้เป็นโอกาสในการสร้างสรรค์สิ่งดีงามร่วมกัน

ในวันนี้ได้รับเกียรติจากท่าน ส.ส.ปกรณ์ มุ่งเจริญพร ท่านสหัส ยิ่งยงยุทธ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตาอ็อง ท่านปลัดณรงค์ เอิ่บอิ่ม ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลตาอ็อง ตัวแทนผู้นำท้องถิ่น ชุมชนที่อยู่โดยรอบอ่างเก็บน้ำอำปึล รวมทั้งลุง ป้า น้า อา พี่ๆ น้องๆ ชาวบ้านที่เข้าร่วมแสดงความคิดเห็น ความต้องการ และสังเกตุการณ์ ให้กิจกรรมครั้งนี้ดำเนินตามวิถีของชุมชนอย่างเป็นกันเอง

โดยประเด็นของ “การขุดลอก” ได้นำไปสู่การกำหนดกรอบแนวคิด วิธีการวางแผน ออกแบบ และบริหารจัดการ ให้เกิดการขุดดินเพื่อเพิ่มปริมาณกักเก็บน้ำเพิ่มมากขึ้นไม่น้อยกว่า 10 ล้านลูกบาศก์เมตร ที่นำไปสู่การวางแผนด้วยภาคประชาชน ที่ให้ความสำคัญของเครือข่ายความสัมพันธ์ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม แปลงนาเกษตรอินทรีย์ ปศุสัตว์ และกิจกรรมการประมงพื้นบ้าน

ที่ในปลายทางของการพัฒนาที่นำไปสู่การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ด้วยกิจกรรมการท่องเที่ยว ที่จำเป็นต้องออกแบบพื้นที่ ระบบโครงข่ายคมนาคม การจัดวางระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ การเชื่อมพื้นที่จุดนำสายตา (Landmark) ที่จำเป็นต้องมีการถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับชุมชน การเชื่อมโยงทางพื้นที่ การให้ความสำคัญกับประวัติศาตร์ความเป็นมา วิถีดั้งเดิมที่มีความงดงาม ที่นักวิชาการ นักออกแบบจำเป็นต้องเก็บข้อมูลเชิงลึกอย่างละเอียดรอบคอบ เพื่อสนองตอบความต้องการของชุมชนที่อยู่โดยรอบ

โดยทุกกระบวนการคิด การทำงาน จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับภาคประชาชน ผู้ที่ได้รับผลกระทบ ผู้มีส่วนได้เสียอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำเสนอบทบาทของพลังเสียงที่ทรงพลังที่สุด

การยกระดับของ “อำปึลโมเดล” ให้เป็นต้นแบบของการทำงาน “สุรินทร์โมเดล” ในอนาคต จำเป็นต้องใช้กลไกของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของเครือข่ายภาคประชาชน ในการขับเคลื่อนให้เกิดเป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง

นักวิชาการด้านการวางแผนภาคและเมือง ที่ให้ความสำคัญกับมิติทางสังคม ที่เคยเขียนหนังสือในชื่อเรื่อง “ทำไมนักวางแผนต้องเรียนรู้สังคม..จากทฤษฎีการวางแผนภาค สู่บทปฏิบัติการวางแผนแบบบูรณาการ” ที่ในวันนี้ได้เข้าใจและเข้าถึงคำตอบที่แท้จริงว่า “ถ้าภาคประชาชนเข้มแข็งจากข้างในแล้ว ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการพัฒนา จะวิ่งหาและอาสาเป็นส่วนหนึ่งในที่สุด”

https://youtu.be/3cfUpVQi34s

เรียบเรียงโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์เดชชาติ นิยมตรง 1 กันยายน 2562

About The Author