วันอังคาร, 22 ตุลาคม 2567

สุรินทร์-สาธารณสุขอำเภอสนมบูรณาการร่วมกับ ทหาร ตำรวจ เภสัชกร ฝ่ายปกครอง ตรวจเครื่องสำอางค์และอาหารเสริม

สุรินทร์-สาธารณสุขอำเภอสนมบูรณาการร่วมกับ ทหาร ตำรวจ เภสัชกร ฝ่ายปกครอง ตรวจเครื่องสำอางค์และอาหารเสริม

เมื่อวันที่ 4 มิ.ย.61 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 17.00 น สาธารณสุขอำเภอสนม จ.สุรินทร์ร่วมกับ เภสัชกร ปลัดป้องกัน สัสดี ตำรวจ และ อส. ตรวจบูรณาการงานคุ้มครองผู้บริโภค อาหารและยา และเครื่องสำอางค์ รถเร่ ที่ตลาด “ถนนคนเดิน”และร้านค้า 1 ร้าน พบหมดอายุและฉลากไม่ถูกต้อง จึงยึดไว้ที่หมดอายุและฉลาดไม่ถูกต้อง

เปิดเผยว่าหลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาทำการตรวจสอบพบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางผิดกฎหมายตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 มีไม่กี่ราย โดยทาง จนท.ได้ตักเตือนก่อนหากพบเห็นก็จะมีการดำเนินคดีตามกฎหมาย ทางด้านสำนักงานสาธารณสุขอำเภอสนม ในฐานะหน่วยงานที่ทำหน้าที่หลักในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในส่วนพื้นที่ได้ดำเนินการตรวจสอบเฝ้าระวังเรื่องดังกล่าวมาโดยตลอด และเพื่อเป็นการเน้นย้ำถึงความสำคัญใน ความปลอดภัยของสุขภาพผู้บริโภคในอำเภอสนม

หลังจากมีเหตุการณ์บนสื่อต่างๆดังกล่าวเกิดขึ้นสำนักงานสาธารณสุขอำเภอสนม จึงบูรณาการกำลังกับตำรวจ , เจ้าหน้าที่ทหาร, ฝ่ายปกครองเภสัชกร ปลัดป้องกัน สัสดี และ อส. ตรวจสอบร้านจำหน่ายเครื่องสำอางและอาหารเสริมในเขตอำเภอสนม ดำเนินการตรวจสอบเฝ้าระวังในเรื่องดังกล่าว

นางนพรัตน์ ตรงศูนย์ สาธารณสุขอำเภอสนม กล่าวว่า หากมีผู้จำหน่าย รายใดที่ขายผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือเครื่องสำอางที่ฉลากระบุว่าผลิตโดยบริษัทดังกล่าวที่ทาง อย.ดำเนินคดี และที่ฉลากมีการแสดงเลขสารระบบอาหาร ก็ถือว่าเป็นการจำหน่ายอาหารปลอม มีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน -10 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 – 100,000 บาท แต่หากกรณีอาหารนั้นไม่แสดงเลขสารระบบอาหารก็ยังคงถือว่าเป็นการแสดงฉลากไม่ถูกต้อง มีโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท นอกจากนี้ในการตรวจสอบครั้งนี้หากพบการกระทำผิดอื่นตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ. 2558 จะมีการดำเนินคดีทันที

เช่นผลิตอาหารเพื่อจำหน่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต ฝ่าฝืนมาตรา 14 วรรคหนึ่ง มีโทษตามมาตรา 53 จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผลิตเพื่อจำหน่ายอาหารปลอมตามมาตรา 27 วงเล็บ (4) กรณีแสดงฉลากเพื่อลวง หรือพยายามลวงให้ผู้ซื้อเข้าใจผิดในลักษณะพิเศษว่าได้รับเลขสารระบบอาหาร ณ สถานที่ผลิตแห่งนี้แล้ว ฝ่าฝืนมาตรา 25(2) มีโทษตามมาตรา 59 จำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 100,000 บาท โฆษณาคุณประโยชน์ คุณภาพ หรือสรรพคุณของอาหารโดยไม่ได้รับอนุญาต ฝ่าฝืนมาตรา 41 มีโทษตามมาตรา 71 ปรับไม่เกิน 5,000 บาท

ส่วนเครื่องสำอางหากมีการแสดงฉลากที่มีข้อความที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับเครื่องสำอาง ผู้ผลิตจะมีโทษตามมาตรา 67 วรรคหนึ่ง โทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ฉลากไม่ครบถ้วนถูกต้องตามกฏหมายกำหนดผู้ผลิตจะมีโทษ ตามมาตรา 68 วรรคหนึ่ง โทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทั้งนี้อาจมีข้อกล่าวหาอื่นซึ่งอาจจะมีโทษเพิ่มขึ้น เช่น หากตรวจพบยาแผนปัจจุบัน จะถือว่าเป็นการจำหน่ายยาไม่บริสุทธิ์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับเป็นต้น

ท้ายที่สุดนางนพรัตน์ ตรงศูนย์ สาธารณสุขอำเภอสนม ฝากถึงผู้ประกอบการ อย่าได้ลักลอบผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและเครื่องสำอางโดยผิดกฎหมาย พร้อมปรามผู้จัดจำหน่ายทั้งรายใหญ่และรายย่อย รวมถึงพีเซ็นเตอร์หากมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจำหน่ายหรือการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายอย่าง เคร่งครัดส่วนของผู้บริโภคขอให้ใช้วิจารณญาณในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์และอาหารเสริมและเครื่องสำอางค์

About The Author