ข่าวท้องถิ่น

สืบสานตำนานพระมอเฒ่า ช้าง และ อาถรรพ์ การทำเชือกปะกำ คล้องช้างอันศักดิ์สิทธิ์(คลิป)

สุรินทร์-สืบสานตำนานพระมอเฒ่า ช้าง และ อาถรรพ์ การทำเชือกปะกำ คล้องช้างอันศักดิ์สิทธิ์  พิธีกรรมโบราณ

21 ก.ค.61 – ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่วัดป่าอาเจียง บ้านหนองบัว ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ นายบุญมา แสนดี อายุ 90  ปี หมอช้างใหญ่ ประจำหมู่บ้านช้าง ซึ่งเคยออกคล้องช้างป่า ตามแนวเทือกเขาพนมดงรัก ชายแดนไทย-กัมพูชา ได้มากถึง 50 กว่าเชือก ได้พา หมอช้าง ร่วมกันประกอบพิธีเซ่นไหว้ศาลครูปะกำช้าง ที่ควาญช้างคนเลี้ยงช้างเคารพนับถือเป็นที่สิงสถิตย์ พระมอเฒ่า ต้นตำรับ ของตำนานคนคล้องช้าง และเป็นที่เก็บเชือกคล้องช้าง หรือเชือกประกำ ใช้คล้องช้างป่าในอดีต

แม้ว่าในปัจจุบันการคล้องช้างหรือการจับช้างจากในป่า  จะไม่มีให้เห็นแล้ว  เนื่องจากช้างเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติรักษาช้างป่า  แต่ความเชื่อของกูยในจังหวัดสุรินทร์  แต่ยังคงมีการทำเชือกปะกำ ที่ใช้สำหรับคล้องช้าง  เพราะเชื่อในความเป็นสิริมงคล และสืบทอดองค์ความรู้ต่อไป ถึงควาญช้างรุ่นต่อไป

(คลิปประกอบข่าว)

หนังปะกำ หรือ เชือกปะกำ มีลักษณะ เป็น เชือก หนังซึ่งทำจากหนังกระบือหรือหนังควาย จำนวน 3 เส้น มาฟั่นให้เป็นเกลียว ยาว ประมาณ ประมาณ 30 – 50เมตร โดยแต่ละเส้นจะใช้หนังกระบือ จำนวน 3ตัว ใช้สำหรับเป็นบ่วงบาศคล้องเท้าช้างป่าโดย ปลาย ข้างหนึ่งจะถูกถักให้เป็น ห่วง เพื่อสอดปลายอีกด้านหนึ่งแล้วรูดเข้าหากัน ให้มีลักษณะเป็นบ่วงบาศ  ใกล้ ๆ กับบ่วงนี้ จะนำไม้ไผ่กลมและ กลวง ยาวประมาณ 15 – 20 เซนติเมตร มาผูกติดเชือกปะกำเรียกว่า “แขนงW เพื่อใช้เป็นที่เสียบ ไม้คันจาม ในยามที่ไม่ได้ออกไปโพนช้าง หนังปะกำจะถูกเก็บรักษาไว้ที่ศาล ปะกำเพื่อใช้เป็นที่เสียบ ไม้คันจาม ในยามที่ไม่ได้ออกไปโพนช้าง หนังปะกำจะถูกเก็บรักษาไว้ที่ศาล ปะกำ  สำหรับวิธีการทำหนังปะกำ เริ่มจากการนำหนังควายมาขึงให้ตึงแล้วทำการตัดตรงกลางให้เป็นเส้นยาวที่สุด ทำการเซ่นผีปะกำ ขึงให้ตึง พร้อมหมุนให้เป็นเกลียวแล้วตากแดดให้แห้ง และตากแดดให้แห้งรอจนหนังปะกำแข็งได้ที่ เสร็จแล้วม้วนเป็นวงกลมเล็กๆเก็บไว้ที่ ศาลปะกำ รอการนำไปใช้ ในการโพนช้าง.

ภาพ – วรรณา ศาลางาม ผู้สื่อข่าวสุรินทร์นิวส์ /สนง.ปชส.สุรินทร์

Leave a Comment