วิถีชุมชน

ขุดหาแมงกุดจี่ ตามทุ่งนา ตำป่นแจ่วผัก คั่วกุดจี่ แซ่บหลาย (มีคลิป)

[embedyt] https://www.youtube.com/watch?v=3r8L17FKuYc[/embedyt]

สุรินทร์-ขุดหาแมงกุดจี่ ตามทุ่งนา วิถีอีสาน ตำป่นแจ่วผัก คั่วกุดจี่ อาหารพื้นบ้านแซ่บหลาย

[embedyt] https://www.youtube.com/watch?v=9Ss2TFAky4g[/embedyt]

ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปดูชาวบ้านในพื้นที่บ้านสองห้อง ต.หัวงัว อ.สนม จ.สุรินทร์ ที่ออกหาแมงกุดจี่ หรือแมงจุ่งจี้ขี้วัว-ควาย เพื่อนำไปประกอบอาหาร อีกทั้งยังเป็นแมลงที่มีโปรตีนสูง เสริมสร้างสมรรถภาพร่างกาย ใน 1 ปีจะมีเพียงหนึ่งครั้ง เท่านั้น และจะมีในช่วงเดือนเมษายน -มิถุนายน ของทุกปี และเป็นแมลงที่หายาก

แมงกุดจี่ หรือแมงจุ่งจี้ เป็นแมลง ปีกแข็ง ลักษณะสีดำ ชอบอาศัยอยู่กับกองขี้วัวขี้ควายและชาวบ้าน ในแต่ละถิ่นนของล้านนา มักจะออกเสาะหา นำไปประกอบอาหารได้หลากหลายชนิด อาทิ แกง ทอด ตำน้ำพริกฯหรือทอดกินเล่น

โดยชาวบ้านมีความเชื่อว่า แมงกุดจี่ หรือแมงจุ่งจี้ ขี้วัว-ขี้ควาย มีคุณค่าอาหารด้านโปรตีน สามารถ ทำให้ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรงขึ้น และยังมีรสชาติอร่อยกว่าแมงอีนูน หรือจิ้งหรีด และแมลงสัตว์ปีกอื่นๆ

โดย นางสาวเอ็ด  พิมพ์น้อย อายุ 60 ปี นางสาว พัดทนี  อาสาพิพัก อายุ 30 ปี ออกไปหาแมงกุดจี่ตามใต้กองขี้วัว-ขี้ควาย ตามทุ่งนาที่มีขี้วัวขี้ควาย ซึ่งวิธีการหานั้นก็ไม่ยาก มีเสียมและครุถัง ถ้ามีกองขี่วัวขี้ควายก็จะทำการคุ้ยเขี่ยเปิดหน้ากองขี้วัวขี้ควาย

แล้วทำการเขี่ยและขุด หาตัวกุดจี่ที่อยู่ในดิน ซึ่งแต่ละกองสามารถขุดแมงกุดจี่ได้ประมาณ 10 -20 ตัว ส่วนใหญ่แล้วกองขี่ควายจะมีกุดจี่มากกว่ากองขี่วัว ขี่วัวจะมีกุดจี่น้อยกว่า เมื่อขุดได้แล้วจะนำมาพัก ใส่ถังสัก 2 วัน เพื่อให้แมงกุดจี่ ได้ถ่ายมูลและของเหลว ออกจากตัว หลังจากนั้นจะนำมาล้าง ทำความสะอาด เพื่อนำไปประกอบอาหาร หรือถ้าต้องการประกอบอาหารเลยก็จะนำมูลของเหลวกุดจี่พร้อมทั้งเด็ดปีกออก

อาหารที่ชาวบ้านทำกินตอนเย็นหลังจากที่ไปขุดหาแมงกุดจี่คือ ป่นแมงกุดจี่ และกุดจี่คั่ว หลังจากนำมูลและของเหลวออกพร้อมเด็ดปีกเสร็จก็ล้างน้ำสะอาดอีกครั้ง จุดไฟเตาถ่านในการทำเพราะเตาถ่านจะทำให้อาหารมีรสชาติเพิ่มขึ้น วางกระทะเมื่อร้อนแล้วใส่กุดจี่ลงไปใส่เกลือเล็กน้อย กะเทียม แล้วใส่ตะไคร้สัก 2 หัวตัดเป็นชิ้นพอประมาณ

แล้วคนให้เข้ากันจนสุก นำพริกและกุดจี่มาโคกให้ละเอียดใส่มะม่วงสับพอประมาณเพิ่มความเปรี้ยวและดับกลิ่น ใส่น้ำปลา มะนาว น้ำปลาร้า ตามแต่ชอบ เสร็จตักใส่ถ้วยทานกับผัก อาหารเย็นเมื่อค่ำพร้อมครอบครัว

นางณัฐนันท์  ดอกคำ อายุ 52 ปี บอกว่า รสชาติจะออกเปรี้ยวอมหวานจากมะม่วง และมันออกกุดจี่เอง ที่สร้างความอร่อยของคนรับประทาน หลายคนติดใจในรสชาติคือความมันของกุดจี่ พร้อมกับรสชาติของมะม่วงอมเปรี้ยวอมหวานจะอร่อยมาก เป็นอาหารพื้นบ้านที่มีมานานแล้ว

ส่วนกุดจี่คั่ว ไม่มีอะไรมากเหมือนกับคั่วตอนป่น แต่เพิ่มเครื่องปรุง ตะไคร้ ใบมะกรูด เกลือ พริกไทย เพื่อเพิ่มรสชาติ ความหอม และเป็นสมุนไพรด้วย อร่อยแซ่บหลาย

ภาพ/ข่าว สมศักดิ์ ตระกูลสุข ข่าวสนมนิวส์

ข่าวสนมนิวส์

Leave a Comment